วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563




5G คืออะไร? เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายน้องใหม่ ใกล้ตัวกว่าที่คิด


ก่อนจะไปถึง 5G ลองมาไล่เลียงเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายในแต่ละยุคกัน

เริ่มจากในยุคแรก 1G เราพูดคุยกันด้วยเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก ต่อมาเราเริ่มส่งข้อความ MMS หากันในยุค 2G จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ เมื่อเข้าสู่ยุค 3G เราสามารถเชื่อมต่อและเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น (อยู่ระหว่าง 220 Kbps ถึง 42.2 Mbps) จนเข้ามาถึงยุค 4G เราสามารถดูภาพ และเสียงหรือหนังออนไลน์ได้เนื่องจากมีความเร็วหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น 4G LTE (100 Mbps), LTE Advanced (1 Gbps) ตอนนี้คุณพร้อมหรือยัง? ที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 5G

5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?

  • ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที
  • รองรับการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
  • ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
  • รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.



ประโยชน์ของ 5G

สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต


6G เทคโนโลยีแห่ง AI 


5G กำลังจะถูกทยอยนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เหล่าวิศวกรทั้งหลายก็หันมาให้ความสนใจกับขั้นต่อไปของเทคโนโลยีว่าจะออกมาในรูปแบบไหน คงเป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทั้งการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและมนุษย์กับโลกทั้งใบ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของยุคสมัยศตวรรษที่ 21

ที่ผ่านมาการเปิดตัว 5G ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเกาหลีใต้ที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อการยานพาหนะแห่งอนาคต คือ การเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เอง โดยอาศัยข้อมูลที่ผ่านมา นั้นจึงเป็นสาเหตุของกลุ่มนักวิจัยจาก Jacobs University Bremen ซึ่งได้ศึกษาเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคต่อไปคือ ยุค 6G ซึ่งก็นำมาสู่คำถามที่ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรอีก? 6G จะเป็นแบบไหนกัน? แตกต่างกันยังไง? มีอะไรที่สามารถทำเพิ่มขึ้นมาได้บ้างจาก 5G?




 คำตอบอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบางอย่างที่พอเป็นเค้าลางให้เห็นว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ต้องขอบคุณผลงานของ Razvan-Andrei Stoica และ Giuseppe Abreu ที่มหาวิทยาลัย Jacobs University Bremen ประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนได้นำเอาข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI 

โดยงานวิจัยกรณีศึกษา 6G พบว่า การพัฒนาพัฒนาการสื่อสารในยุคนั้นจะเป็นการสื่อสารที่แก้ไขข้อบกพร่องของเทคโนโลยี 5G ในเรื่องทางกายภาพของคลื่น และแก้ไขปัญหาทางด้านเทคโนโลยี AI เมื่อระบบ AI ทำงานผ่านระบบแอปพลิเคชันไปได้สักพัก เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การเรียนรู้ขับยานพาหนะ, การเรียนรู้การเกษตร ซึ่งจะเริ่มที่จะเกิดการตัดสินใจเกิดขึ้น




ระบบจะมีการสั่งการด้วยการเรียงลำดับความเป็นไปเพื่อการตัดสินใจของข้อมูล ซึ่งจะต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางระบบจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากก็ยิ่งต้องรับส่งสัญญาณทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน เช่น หากต้องให้ AI ขับรถยนต์อิสระด้วยระยะทางประจำก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องขับรถนอกเส้นทาง ระบบจะต้องมีการประมวลผลบนแผนที่ที่กว้างขึ้น กระบวนการทางความคิดและการตัดสินใจย่อมใหญ่ขึ้น นั้นเท่ากับว่าต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น

ซึ่ง 5G เป็นเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารับรองสถานการณ์นี้ โดยที่ในอนาคตจะเกิดการรบกวนของสัญญาณ และเกิดการใช้แบนด์วิดท์(ช่องสัญญาณในการรับส่งสัญญาณ) มากกว่าเดิม ซึ่งเมื่อถึงยุคนั้นระบบ 5G จะเกินขีดความสามารถอย่างแน่นอน ดังนั้น นักวิจัยส่วนใหญ่จึงพยายามแยกคลื่นความถี่ กายภาพในระดับต่ำและสูง โดยมุ่งเน้นไปที่คลื่นที่มีความถี่ต่ำๆ มารองรับฮาร์ดแวร์เนื่องจากรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมหาศาลระดับ mmWave




แล้ว 6G จะดีกว่ายังไงล่ะ? ในด้านหนึ่งที่แน่นอนเลยก็คือเรื่องความเร็ว ซึ่งในตอนนี้มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ราวๆ 1 terabit/second หรือประมาณ 100 เท่าของ 5G 6G ในอนาคตข้างหน้า การรับส่งคลื่นจะถูกอนุญาตจากตัวมันเอง ข้อมูลต่างๆ จะเป็นไปได้ตามอุปกรณ์

แต่ข้อมูลอะไรที่กันที่จะสามารถได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนี้ จากคำอธิบายของ Stocia และ Abreu พวกเขาบอกว่ามันจะทำให้เหล่า AI นั้นเชื่อมโยงหากันและช่วยกันแก้ไขปัญหาระดับที่ซับซ้อนในทันที ยกตัวอย่างเช่นการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับในเมืองขนาดใหญ่ที่ต้องมีการเชื่อมโยงกันและส่งต่อข้อมูลถึงกันอย่างมหาศาลระหว่างสมองกลที่เกี่ยวข้องในวินาทีนั้น คิดถึงรถยนต์จำนวนเกือบสามล้านคันที่เข้าออกเมืองหลวงอย่างนิวยอร์กทุกวัน นี่จะเป็นปัญหาที่ได้รับการแก้ไขโดยสมองกลที่สื่อสารกันตลอดทุกวินาที



รถยนต์ไร้คนขับคันหนึ่งที่ถูกขับเคลื่อนด้วย AI จะคอยส่งรับส่งสัญญาณจากสิ่งรอบข้างและตอบสนองตามความจำเป็น ตำแหน่งที่ตั้งของรถยนต์จะถูกส่งออกไปสู่พื้นที่โดยรอบ เสาไฟฟ้า พื้นถนน ไฟจราจร ทุกอย่างจะมี AI อยู่ในนั้นเพื่อคอยถ่ายทอดข้อมูลถึงกัน รถจักรยานที่ปั่นบนถนน มอเตอร์ไซค์ ปลอกคอน้องหมา นาฬิกาข้อมือของคนวิ่งออกกำลังกาย ฯลฯ AI เหล่านี้จะคอยบอกว่าให้ระวังอะไร เลี้ยวไปทางไหน ต้องเลี่ยงเส้นทางไหนเพื่อจะให้ถึงปลายทางเร็วที่สุด

สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้พลังในการคำนวณอย่างหนักหน่วง สมองกลในรถยนต์แต่ละคันต้องสร้างเครือข่ายกับสิ่งต่างๆ โดยรอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อผ่านจุดหนึ่งไปก็ต้องไปสร้างเครือข่ายใหม่เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเป้าหมาย 


Internet of Things หรือ IoT คืออะไร

 

Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

 กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้ 

นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ

แนวคิด Internet of Things 

เดิมมาจาก Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things ในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G)  เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น

 ต่อมาในยุคหลังปี 2000 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตออกจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั่วโลก จึงเริ่มมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ต่างๆเหล่านี้ ล้วนถูกฝัง RFID Sensors เสมือนกับการเติม ID และสมอง ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart Device ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย

 Internet of Things และ Big Data สัมพันธ์กันอย่างไร

 ปัจจุบัน Internet of Things สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านการใช้งานของเราได้มากขึ้น สาเหตุเพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆมีราคาถูกลง ทำให้เกิดการใช้งานจริงมากขึ้น มีการค้นพบ Use Case ใหม่ๆในธุรกิจ ทำให้ผู้ผลิตได้เรียนรู้และคอยแก้โจทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ตรงใจผู้ใช้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น Internet of Things มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เราจึงเริ่มเห็นธุรกิจที่หันมาให้ความสนใจ Internet of Things ในแง่ที่มันสามารถช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจ ทางสังคม และช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันได้ โดยการนำเอาข้อมูลหรือ Big Data เข้ามาใช้ในการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละรูปแบบ ถึงตรงนี้แล้วคงจะสงสัยใช่มั้ยคะว่า Big data เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Internet of Things

 Big Data คือ ข้อมูลขนาดมหาศาลที่เกิดขึ้น ไม่มีโครงสร้างชัดเจน หนึ่งในตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ง่ายคือข้อมูลจากยุคโซเชียล ผู้ใช้เป็นคนสร้างขึ้นมา ซึ่งนอกจากเนื้อหาในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีข้อมูลอีกประเภทหนึ่งคือ   ข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เราใช้หรือสวมใส่ เช่น สายรัดวัดชีพจรตอนออกกำลังกาย ตัวอย่างเช่น แบรนด์ไนกี้ตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าซื้อรองเท้าแล้วนำไปใส่วิ่งจริง แต่ตอนนี้พิสูจน์ได้แล้วเพราะว่าไนกี้ใช้ IoT กับสินค้าของเขา ยิ่งไปกว่านั้นตอนนี้ลูกค้าไม่ได้ผลิตข้อมูลที่นำไปสู่ Big Data จากการโพสต์ คอมเมนต์ กดไลค์ หรือแชร์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกิจกรรมในไลฟ์สไตล์ที่ธุรกิจหรือแบรนด์นำไปจับคู่กับสินค้า แล้วสร้างเป็นเนื้อหาที่โดนใจผู้รับสารขึ้นมา สิ่งสำคัญคือ ข้อมูลพวกนี้บอกว่ามีอะไรเกิดขึ้นได้อย่างเดียว สิ่งสำคัญกว่าคือ ธุรกิจ องค์กร และแบรนด์ต่างๆ จะเปลี่ยนข้อมูลพวกนี้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร ทำอย่างไรข้อมูลจึงจะสามารถบอกได้ว่า ‘ทำไมสิ่งต่างๆเหล่านั้นถึงเกิดขึ้น’ จุดนี้จึงทำให้เรารู้จักความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค (Consumer Insight) และรู้ว่าต้องทำอย่างไรให้ธุรกิจหรือบริการของเราจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 ประโยชน์และความเสี่ยง

 เทคโนโลยี Internet of Things มีประโยชน์ในหลายด้านทั้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน ช่วยลดต้นทุน แถมยังช่วยเพิ่มผลผลิตของพนักงานหรือผู้ใช้งานได้ แม้ว่าแนวโน้มของ IoT มีแต่จะเพิ่มขึ้นด้วยคุณาประโยชน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ประโยชน์ใดๆนั้นก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น จะผลักดันให้ผู้เชี่ยวชาญมีการรับมือทางด้านความปลอดภัยมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีก็ทำงานหนักเพื่อที่จะเข้าควบคุม โจมตีเครือข่าย หรือเรียกค่าไถ่ในช่องโหว่ที่ IoT มีอยู่ ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทาง IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไป เพื่อให้ธุรกิจและการใช้งาน IoT สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้

เห็นอย่างนี้แล้วในอีกด้านหนึ่ง เราลองคิดเล่นๆว่ายิ่งเกิดการเชื่อมต่อมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ก่อให้เกิดสภาวะที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่จะส่งผลให้มีโอกาสเติบทางเศรษฐกิจมากขึ้น ภาคธุรกิจและองค์กรจะตามคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ดีก็ต่อเมื่อมีระบบรองรับที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าประเทศไทยมี 5G เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทุกอย่างคงเชื่อมต่อรวดเร็วพอๆกับการการใช้จิตสั่งเลยทีเดียว และสุดท้ายนำไปสู่ประโยชน์ที่ผู้บริโภคและเจ้าของธุรกิจจะได้รับทั้งสองฝ่าย จากข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ของตนกับลูกค้าที่คาดหวังได้ดียิ่งขึ้น เพราะการเชื่อมต่อของ Internet of Things ถือเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคตได้ ในที่สุด Internet of Things ส่งผลต่อการค้าและการดำเนินชีวิตทั่วโลก และจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีพัฒนาไปในปี 2018

 


AI คืออะไร ?




เว็บบล็อกของนักเรียนม.5/2กลุ่ม1: 1.2 วิทยาการข้อมูล (Data Science)

วิทยาการข้อมูล(data science)

วิทยาการข้อมูล (อังกฤษData science) เป็นสหสาขาวิชาที่ใช้วิธีการ กระบวนการ อัลกอริทึม และระบบทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อหาความรู้จากข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดเก็บเป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองข้อมูล การเรียนรู้เชิงลึก และข้อมูลขนาดใหญ่

วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่เป็นการบูรณาการสถิติศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้ของเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในข้อมูลได้[3] ใช้เทคนิคและทฤษฎีที่ได้มาจากคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาการสารสนเทศ

จิม เกรย์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลทัวริงมองว่า วิทยาการข้อมูลเป็นวิทยาศาสตร์แขนงที่สี่ ต่อยอดมาจากวิทยาศาสตร์การทดลอง วิทยาศาสตร์ทฤษฎี และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ โดยเชื่อว่าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนไปโดยอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศและการเพิ่มขึ้นของข้อมูล

         พื้นฐาน

วิทยาการข้อมูลเป็นสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการหาความรู้จากกลุ่มข้อมูลซึ่งส่วนมากมักมีขนาดใหญ่ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ วิเคราะห์ และนำเสนอสิ่งที่ค้นพบให้กับผู้มีอำนาจใจการตัดสินใจในองค์กร จึงต้องใช้ทักษะทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ การออกแบบกราฟิก และธุรกิจ

นักสถิติศาสตร์หลายคน อาทิ เนท ซิลเวอร์ มองว่าวิทยาการข้อมูลไม่ได้เป็นศาสตร์ใหม่ แต่เป็นอีกชื่อหนึ่งของสถิติศาสตร์ แต่บ้างก็แย้งว่าวิทยาการข้อมูลเน้นการศึกษาปัญหาและเทคนิคที่แตกต่างกับวิชาสถิติ โดยวิสันต์ ธาร์ ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมองว่าสถิติจะเน้นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณและหาคำอธิบาย ส่วนวิทยาการข้อมูลจะเน้นศึกษาทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (เช่นภาพ) และเน้นการพยากรณ์และการลงมือทำ

 

    เส้นทางอาชีพ

วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่กำลังเติบโต นักวิทยาการข้อมูลเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับเงินเดือนระดับที่สูงมากในสหรัฐอเมริกาโดยมีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 118,370 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณ 56.91 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงการเติบโตของสายงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของแรงงานในตลาด คาดว่าจะเติบโตราวร้อยละ 16 ระหว่างปี ค.ศ. 2018 ถึง ค.ศ. 2028

ผลกระทบของวิทยาการข้อมูล

เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เริ่มเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับภาคธุรกิจและบริษัททุกระดับ การมีข้อมูลขนาดใหญ่และมีความสามารถในการตีความได้เปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจรูปแบบเก่า ก่อให้เกิดการสร้างโมเดลแบบใหม่ ธุรกิจที่เกิดจากข้อมูลมีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2020 เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2015 ที่มีอยู่เพียง 333 พันล้านดอลลาร์ นักวิทยาการข้อมูลเป็นผู้ที่ย่อยข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มีประโยชน์ สร้างซอฟต์แวร์และอัลกอริทึมที่ช่วยให้บริษัทและองค์กรค้นพบวิธีการที่ดีที่สุดในการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลขนาดใหญ่มีผลกระทบอย่างมหาศาลทั่วโลก



Big Data

 Big    Data

Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่มากจนซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถที่จะจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Big Data คือ การรวบรวมข้อมูลทั้ง Structured (พวกที่เก็บในโครงสร้างตารางข้อมูล) และ Unstructured (พวกที่เป็น text ยาวๆ รูปภาพ และ วิดีโอต่างๆ) มาทำการประมวลวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์

Big Data คือ 4Vs ที่ทุกคนพูดถึงกัน ซึ่งได้แก่ Volume (ข้อมูลขนาดใหญ่) Velocity (ข้อมูลที่เกิดและไหลเข้าสู่การจัดเก็บด้วยความเร็วสูง) Variety (ข้อมูลที่มีความหลากหลายในรูปแบบ) Veracity (ข้อมูลที่มีระดับคุณภาพปะปนกันไป)

Big Data คือ buzzword ที่ทุกคนพูดถึงตลอดเวลา และใช้เป็น Marketing Term ในการสร้างภาพ 

Big Data คือ การพยายามสร้างมูลค่าของธุรกิจจากการนำเข้ามูลจำนวนมากทั้งภายในและภายนอกองค์กร มาวิเคราะห์ประมวลผล

Big Data คือ การสร้างทักษะและความรู้ให้กับทีมงานเพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลปริมาณขนาดใหญ่ได้ และเข้าใจเชิงลึกถึงข้อมูลขนาดใหญ่ 

Big Data คือ งานของทุกคน ไม่ใช่แค่งานของไอที หรือ ทีมวิเคราะห์ข้อมูล งานนั้นเริ่มตั้งแต่ตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลอันไหน หรือ ไม่เก็บอันไหน จะเก็บไว้นานเท่าไหร่ จะเก็บไว้ที่ไหนอย่างไร จะเอาไปใช้อย่างไร

Big Data คือ การลงทุนระยะยาว ไม่ใช่การตั้งงบโครงการ แล้วเรียก vendor มา demo ระบบให้ดู แล้วจ่ายเงินเพื่อให้มีระบบซักระบบนึง


ฟอร์มของ วรรณกนก ผาภูมิสุโข

  กำลังโหลด…